วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

เลียนแบบท่าเต้น tell me ด้วยตัวการตูนในเกมส์ (ขำๆๆ)

14 วิธี นอนหลับสบายและฝันดี

บ่อยแค่ไหนที่น้องๆ ชาว Dek-D.com ต้องนอนดึกแล้วก็ตื่นมาพร้อมกับความอ่อนเพลียในตอนเช้า ลองทำตามคำแนะนำง่ายๆ นี้ดูนะคะ แล้วน้องๆ ชาว Dek-D.com จะพร้อมเข้านอนและหลับได้ในทันที

น้องๆ ชาว Dek-D.com ลองทำตามขั้นตอนตามนี้ดูนะจ๊ะ


1. น้องๆ ชาว Dek-D.com ต้องแน่ใจว่าได้เตรียมของสำหรับพรุ่งนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว อย่างเช่น จัดกระเป๋า หรือเตรียมอุปกรณ์ไว้พรีเซนต์ ตั้งนาฬิกาปลุก หรือเตรียมชุดที่จะใส่ในวันพรุ่งนี้ไว้แล้ว

2. ล้างหน้าด้วยนะคะ ให้น้องๆ ชาว Dek-D.com ล้างหน้าและลำคอด้วยน้ำยาทำความสะอาดใบหน้า (face cleanser) แล้วก็ต้องแน่ใจนะคะว่าน้ำยานั้นไม่มีส่วนผสมของสบู่ และถ้าเป็นไปได้ต้องไม่มีแอลกอฮอล์ด้วยนะคะ ต่อจากนั้นก็ใช้ครีมที่เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว (มีมอยซเจอร์ไรเซอร์) แต่ถ้าน้องๆ ชาว Dek-D.com เพลียและง่วงนอนมากๆ ก็อาจจะใช้ผ้าทำความสะอาดใบหน้าแทนก็ได้ และพยายามใช้โทนเนอร์, โลชั่น และใช้มาสก์หน้า สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที และทาครีมบำรุงผิวสำหรับกลางคืน (night cream)

3. เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนนอน มันเป็นเรื่องสำคัญมากนะคะ เพราะมันจะดีแค่ไหนที่เราไม่ต้องตื่นมากลางดึกเพื่อเข้าห้องน้ำอีก เข้าไปถึงแม้ว่าจะยังไม่ปวดแต่ก็อย่าไปฝืนถ้าลองเข้าไปแล้วแต่ไม่สำเร็จ

4. เป่าผมให้แห้งแม้เป็นเพียงผลจากการล้างหน้า แต่ก็อย่าใช้เวลากับตรงนี้นานนักนะคะ ถ้าน้องๆ ชาว Dek-D.com ไม่มีไดร์เป่าผม ก็ให้ใส่หมวกคลุมอาบน้ำไว้ตอนล้างหน้า หรือปล่อยให้ผมแห้งไปเองก็ได้

5. แปรงฟันก่อนนอนด้วยนะคะ แปรงให้สะอาดทุกซอกทุกมุมเลยนะคะ ข้างนอก ข้างใน ข้างบน ข้างล่าง แปรงจนกว่าจะรู้สึกว่าปากสดชื่น แล้วก็ต้องแปรงลิ้น ใช้ไหมขัดฟันและใช้น้ำยาบ้วนปากด้วยนะคะ หลังจากล้างปากแล้ว ให้ดื่มน้ำแก้วเล็กๆ แล้วก็แปรงผมต่อเลยก็ได้นะคะ แต่ต้องแน่ใจนะว่าถอดยางมัดผมแล้ว และจะสามารถหวีผมที่ยุ่งเหยิงไปได้

6. ถ้าต้องทานยาหรือยาทาก่อนนอน ก็จัดการให้เรียบร้อยซะก่อนจะลงนอน

7. ทำให้แน่ใจว่าเตียงนี้ได้เตรียมไว้ในแบบที่น้องๆ ชาว Dek-D.com ต้องการแล้ว และฟูกที่เตียงต้องทำให้นอนสบาย

8. เปิดหน้าต่างซะถ้าห้องมันร้อนไป หรือถ้ารู้สึกหนาวก็หาผ้ามาห่ม

9. ปิดไฟก่อนนอนด้วยนะคะ

10. นอนลงบนเตียงแล้วห่มผ้าให้ร่างกายอบอุ่น อ่านหนังสือต่างๆ แต่ไม่ควรดูโทรทัศน์ หรือเล่นคอมพิวเตอร์ ก่อนนอน เพราะมันจะมีผลเสียต่อการนอน

11. น้องๆ ชาว Dek-D.com อาจจะเปิดเพลงเบาๆ ไว้ได้ถ้าต้องการ

12. เมื่อไหร่ที่รู้สึกง่วง ให้วางหนังสือที่อ่านอยู่ลง และคิดถึงเรื่องที่อยากจะฝัน

13. ปิดไฟ ปิดวิทยุให้เรียบร้อย

14. จากนั้นก็หลับให้สบาย และฝันดีนะคะ

บทความโดย พี่นัท จากคอลัมน์ Lifestyle > เรื่องน่ารู้ไลฟ์สไตล์

เตือนภัยการคุยโทรศัพท์มือถือ

ดูเหมือนว่า ปัจจุบันนี้การสื่อสารผ่าน “การคุยโทรศัพท์มือถือ” เป็นเสมือนการสื่อสารหลักของผู้คน ไม่ว่าจะเรื่องเล็กเรื่องใหญ่การสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือมักจะเป็นทางเลือกแรกๆ ที่ผู้คนเลือกใช้ แน่นอนว่า พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ

บางคนโทรมาก บางคนโทรน้อย บางคนคุยโทรศัพท์มือถือที่ละนานๆ เป็นชั่วโมง …

สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือต้องทราบไว้ก็คือ ถึงแม้การสื่อสารผ่านช่องทางนี้จะให้ความสะดวกและรวดเร็ว แต่ถ้าหากมีการใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกันบ่อยๆ เป็นเวลานาน “คุณ” อาจะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่ออาการ “เสียงดังในหู” มากกว่าคนปกติถึงสองเท่า!!!

มีรายงานการวิจัยของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์เวียนนา ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในวารสารออกคิวเปชันนัล แอนด์ เอนไวเรนเมนทัล เมดิซิน โดยผลการวิจัยดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่า การใช้โทรศัพท์มือถืออย่างน้อย 4 ปี เพิ่มความเสี่ยงอาการเสียงดังในหูถึงสองเท่า รบกวนการนอน การทำงาน และยังกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือด้วย

โดยผู้ที่มีอาการดังกล่าว 1 ใน 7 ต้องทรมานกับอาการที่รักษาไม่หายนี้ในบางช่วงของชีวิต การค้นหาสาเหตุเพิ่มเติมจึงอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้คนนับล้านทีใช้โทรศัพท์มือถือ

ในการวิจัยครั้งนี้นักวิจัยออสเตรเลียได้เปรียบเทียบการใช้โทรศัพท์มือถือของกลุ่มตัวอย่าง 100 คนที่เข้ารับการรักษาอาการเสียงดังในหู กับกลุ่มตัวอย่างอายุเท่ากันอีก 100 คนที่ไม่มีอาการดังกล่าว

กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดถูกสอบถามเกี่ยวกับประเภทโทรศัพท์ที่ใช้ สถานที่ที่ใช้ เนื่องจากสัญญาณออกของโทรศัพท์มือถือมีแนวโน้มแรงขึ้นในพื้นที่ชนบท นอกจากนี้นักวิจัยยังสอบถามเกี่ยวกับความถี่และระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์ หูข้างที่ชอบใช้ และการใช้อุปกรณ์มือถือ

ซึ่งผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือก่อนมีอาการเสียงดังในหู มีแนวโน้มมีความผิดปกติดังกล่าวเพิ่มขึ้น37% ส่วนคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือเฉลี่ยวันละ 10 นาที มีแนวโน้มอาการเสียงดังในหูเพิ่มขึ้น 71%

นอกจากนี้ คนที่ใช้โทรศัพท์มือถือมานาน 4 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มอาการเสียงดังในหูเพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบ ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากการแพร่กระจายรังสีของโทรศัพท์มือถืออาจทำลายการทำงานอันละเอียดอ่อนของหูชั้นใน และยังเป็นไปได้ว่าแรงกดที่เกิดจากการกดโทรศัพท์กับหูและไหล่ระหว่างเดิน กระตุ้นให้เกิดอาการเสียงดังในหู ซึ่งอาการดังกล่าวนั้นอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ เช่น รบกวนสมาธิในการทำงาน ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้

ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีผลการวิจัยที่ชี้ชัดถึงวิธีการบำบัดอาการดังกล่าว แต่วิธีป้องกันที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดอาการดังกล่าว คือการรักษาระดับความถี่ในการใช้โทรศัพท์มือถือให้มีความพอดี ไม่ควรคุยทีละนานๆ และคุยด้วยระดับเสียงที่ปกติ …